การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย
โทรศัพท์มือถือได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคแห่งเทคโนโลยี
โดยโทรศัพท์มือถือในยุคนี้มาพร้อมความสามารถในการทำงานมากมาย
ทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การติดตั้งแอพพลิเคชั่นต่างๆลงไปบนเครื่อง
ถือได้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งยังสามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญต่างๆลงบนเครื่องได้
อย่างไรก็ตาม
โทรศัพท์มือถือเหล่านี้มักจะถูกโจรกรรมหรือถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์ได้ง่าย
ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรระมัดระวังหรือหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น
เช่น เลือกซื้อโทรศัพท์ที่มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ดี
ตั้งค่าการใช้งานบนโทรศัพท์เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
และไม่ควรคลิกลิงค์ที่น่าสงสัย เป็นต้น
การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย
ในอดีตโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีไว้สำหรับใช้โทรศัพท์ไปยังบุคคลอื่นๆเพื่อสนทนาและส่งข้อความตัวอักษรถึงกันเท่านั้น
แต่ในปัจจุบันโทรศัพท์ถือในยุคใหม่นี้มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย
ถือได้ว่าโทรศัพท์มือถือเหล่านี้เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี
แต่อย่างไรก็ตาม โทรศัพท์มือถือเหล่านี้มักจะสูญหายหรือถูกโจรกรรมได้ง่าย
ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรให้ความสำคัญในการใช้โทรศัพท์อย่างปลอดภัย
โทรศัพท์มือถือกับความปลอดภัย
1. การสนทนา
ถึงแม้ว่าการสนทนาหรือการติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายจีเอสเอ็ม
(GSM) นั้นจะมีการเข้ารหัสเอาไว้
แต่การเข้ารหัสของเครือข่ายจีเอสเอ็มนี้กลับถูกพวกแฮกเกอร์ทำการแฮกได้สำเร็จมาแล้ว
ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรที่จะต้องระมัดระวังและหาทางป้องกันโทรศัพท์มือถือและข้อมูลส่วนตัวด้วยตนเองเพื่อความมั่นใจว่าข้อมูลสำคัญๆที่เก็บเอาไว้นั้นจะไม่รั่วไหล
2. เอสเอ็มเอส (SMS)
ข้อความที่ถูกส่งไปมาอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นข้อความที่ไม่ได้มีการเข้ารหัสเอาไว้หรือที่เราเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเพลนเท็กซ์
(Plain Text) ดังนั้นข้อความเหล่านี้จึงไม่มีความปลอดภัยและไม่สามารถที่จะป้องกันตนเองจากเหล่าแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีที่คอยแอบดักฟังข้อมูลได้
3. สมาร์ทโฟน
เป็นที่น่าเสียดายว่ารูปแบบหรือมาตรการในการรักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือนำมาปรับใช้บนสมาร์ทโฟน
อีกทั้งแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้ทำการดาวน์โหลดและใช้บริการบางส่วนนั้นก็ไม่ปลอดภัย
ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
อินเทอร์เน็ตที่เปิดให้ใช้บริการบนสมาร์ทโฟนนั้นก็พบปัญหาเดียวกันกับที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายไร้สายหรือ
WiFi ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรระมัดระวังและศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายไร้สายเพื่อนำมาปรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นบนสมาร์ทโฟน
วิธีการปกป้องโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย
4. ตั้งค่าการใช้งานบนโทรศัพท์เพื่อความปลอดภัย
สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีฟังก์ชั่นที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับโทรศัพท์มากมาย
ยกตัวอย่างเช่น ต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้งเมื่อต้องการเข้าสู่เมนูหลักบนหน้าจอ
หากสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งานมีฟังก์ชั่นนี้
ผู้ใช้งานควรเปิดการทำงานของฟังก์ชั่นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลบนเครื่องหากโทรศัพท์ถูกขโมยไป
ที่สำคัญผู้ใช้งานควรตั้งรหัสที่ซับซ้อนและยากต่อการคาดเดาเพื่อให้มิจฉาชีพใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลนานมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผู้ใช้งานควรเปิดการทำงานของฟังก์ชั่นรักษาความปลอดภัยอื่นๆที่มีอยู่บนโทรศัพท์มือถือด้วย
ยกตัวอย่างเช่น การเข้ารหัส
การควบคุมหรือสั่งการโทรศัพท์จากระยะไกลและติดตั้งแอพพลิเคชั่นแอนติไวรัสเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากพวกแฮกเกอร์ด้วย
5. ไม่ควรคลิกลิงค์ที่น่าสงสัย
ผู้ใช้งานไม่ควรคลิกลิงค์ที่ถูกแนบมาพร้อมกับอีเมล์หรือข้อความบนโทรศัพท์
หากผู้ใช้งานรู้สึกว่าอีเมล์หรือข้อความนั้นๆมีความผิดปกติหรือน่าสงสัย
อีกทั้งไม่ควรคลิกลิงค์ที่แนบมากับอีเมล์หรือข้อความที่ถูกส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก
เพราะลิงค์เหล่านี้มักจะนำพาเราไปยังหน้าเว็บไซต์ฟิชชิ่งหรือเว็บไซต์หลอกลวงที่พยายามจะหลอกลวงให้
บอกข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสบัตรเครดิต หรือไม่ก็เป็นลิงค์ที่เมื่อเราคลิกเข้าไปแล้วจะทำการดาวน์โหลดโปรแกรมอันตรายลงในเครื่องของเรา
ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรระมัดระวังในการคลิกลิงค์เหล่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น