วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีประหยัดแบตมือถือและแท็บเล็ต ในช่วงน้ำท่วม


          สถานการณ์คับขันในยามน้ำท่วมเช่นนี้ สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทุกคนต้องพกติดตัวนั่นก็คือ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้ติดต่อสื่อสาร รายงานความเป็นไป และขอความช่วยเหลือได้ แต่หากแบตเตอรี่มือถือหรือแท็บเล็ตหมด ก็อาจจะยากในการประสานขอความช่วยเหลือ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยก็จะยากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน เนื่องจากบางแห่งไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือมีใช้ในบริเวณจำกัดเท่านั้น

          ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดแบตอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้นานสำหรับสภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ ทางเว็บไซต์ it24hrs.com จึงมีวิธีการง่าย ๆ ในการประหยัดแบตมาแนะนำกันค่ะ


วิธีการประหยัดแบตเตอรี่บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
          1.ปิด Bluetooth ทันทีหากยังไม่ใช้ หูฟังไร้สาย หรือโอนไฟล์แบบไร้สายกับชาวบ้าน

          2. เลิกใช้ Wireless Network ระบุตำแหน่ง หากคุณอยู่ศูนย์อพยพและไม่ไปไหนอยู่แล้ว ถ้าจะย้ายไปอีกที่หนึ่งค่อยเปิด Wireless Network ก็ได้

          3. ปิด GPS ได้เลยกรณีไม่ใช้ เพราะถ้าเปิดไว้จะกินพลังงานมาก ๆ จะเปิดไว้เฉพาะยามจำเป็นในการเดินทางเท่านั้น

          4. ยกเลิก Always-On Mobile Data สำหรับ Android ถ้าคุณไม่ค่อยใช้แอพที่ต่อเน็ตตลอดเวลา (แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ ก็ไม่ต้องปิดก็ได้ แต่ถ้าไม่ลืมปิดได้ยิ่งดี)

          5. ปิด Wi-Fi และ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน 3G กรณีคุณไม่ใช้เน็ต หากคุณต้องการใช้เน็ตจริง ๆ ถ้ามีสัญญาณ Wi-FI ก็เปิดแต่ Wi-Fi ไม่ต้องเปิด Wi-Fi และ 3G พร้อมกัน โดยการเปิดรับสัญญาณ Wi-Fi นั้นจะกินพลังงานแบตน้อยกว่าแบบ 3G

          6. ตั้งค่าเวลาดับหน้าจอ (Screen Timeout) ให้เร็วขึ้น จะช่วยประหยัดแบตเตอรี่ได้พอสมควรทีเดียว

          7. ตั้งค่าความสว่างให้แสงสว่างในมือถือน้อยลง หากมีโหมดอัตโนมัติก็ควรเลือกตั้งแบบอัตโนมัติ

          8. หากคุณใช้จอแสดงผลแบบ Amoled บนมือถือและแท็บเล็ทละก็ ควรเลือก Wallpaper เป็นสีดำ จะช่วยประหยัดแบตได้มากขึ้น

          9. สำหรับมือถือ Android , Nokia ที่มี Widget และรวมทั้ง Wallpaper แบบเคลื่อนไหว ควรเลือกแบบภาพนิ่งจะดีกว่า และลดการใช้ Widget ประดับหน้าจอ  เพราะจะทำให้มือถือของคุณจะต้องดึงข้อมูลเข้ามาแสดงผลในส่วนของการทำงานด้านหลัง (background) ตลอดเวลา หากมีเยอะก็ทำให้กินพลังงานแบตเยอะพอสมควร

          10. ใช้ Task Manager คอยปิดโปรแกรมที่ทำงานตลอดเวลา ด้วยสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ทนี้ทำงานแบบ Multitasking การเปิดแอพฯค้างไว้ในเครื่องหลายๆ ตัวโดยไม่ปิด เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบตเตอรี่ของคุณหมดเร็วได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณไม่ใช้แอพนั้นแล้วควรปิดการทำงานด้วย

          11. ปิดคุณสมบัติการ push e-mail และปิดระบบการแจ้งเตือน เพราะในกรณีทีมีแอพฯหลายตัวอยู่ใน notification แบตเตอรี่ก็จะถูกใช้มากตามไปด้วย ระบบจะต้องมีการเชื่อมต่อไร้สาย (Wi-Fi, 3G, Edge, etc.) ไปยังเว็บไซต์ของแอพฯ เหล่านั้นตลอด

          12. อัพเดทเฟิร์มแวร์ใหม่ให้สม่ำเสมอ เพราะการอัพเดททุกครั้ง มักจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการพลังงานของแบตเตอรี่ให้ดีขึ้นด้วย

          13.  เตรียมชาร์ททั้งแบตหลักและชาร์ทแบตสำรองด้วย หากแบตหมดก็เปลี่ยนมาใช้แบตสำรองมาใช้ต่อได้เลย

          14. ใช้ที่ชาร์ทแบบพกพา มีทั้งที่ชาร์ทมือถือแบบ Mobile Booster ที่เก็บพลังงานสำรองจากไฟที่ชาร์ทกับไฟบ้านมาใช้ต่อกับมือถือได้ และที่ชาร์ทมือถือ iPhone แบบพลังงานแสงอาทิตย์ได้ด้วย

          15. ที่ชาร์ทมือถือแบบรถยนต์ ถ้ามีก็เตรียมไว้ หากที่พักไม่มีที่ชาร์ทก็สามารถชาร์ทได้บนรถยนต์ที่มีพลังงานแบตเตอร์รี่ซึ่งใช้ได้ยาวนานอยู่

          16. การชาร์ทแต่ละครั้งควรชาร์ทให้เต็ม และตอนใช้มือถือและแท็บเล็ทก็ควรใช้อย่างประหยัดและจำเป็นเท่านั้น เพื่อรักษาระดับพลังงานในแบตให้สูงสามารถใช้งานได้นานหลายวันในยามไม่มีไฟ

...เอาล่ะค่ะ เราก็ได้รู้วิธีการประหยัดแบตอุปกรณ์สื่อสารกันไปแล้ว เพื่อน ๆ ก็อย่าลืมนำไปปฏิบัติตามกันนะคะ จะได้ใช้แบตกันได้นานยิ่งขึ้น และหมดกังวลหากจำเป็นต้องใช้ในยามฉุกเฉินไงล่ะคะ...


ข้อดี-ข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ

ข้อดี-ข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ
ข้อดี
1.ใช้สื่อสารทางไกลสื่อสารรวดเร็ว (ดีที่สุดล่ะ)
2.เดี๋ยวนี้มือถือทำได้เกือบทุกอย่างสื่อสาร ส่งข่าวสาร ถ่ายรูป ท่องเน็ต อีกเยอะ
3.เอาไว้ฟังเพลง
4.ใช้เป็นนาฬิกาปลุกกะเครื่องคิดเลข

5.โทรศัพมือถือมีประโยชน์สารพัดอย่างสะดวกสบายเยอะแยะไปหมดอธิบายไม่ถูกเลยละ
ข้อเสีย
1.ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ  หรือเวลาอะไรก็ตามที่คุณมีความสุข
2.ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ว่าได้ยินเสียงโทรเข้ามา
3.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ หากโทรศัพท์ของคุณสะดุดเข้าตาโจร
4.ทำให้อารมณ์ร้อนของคุณ มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใช้การโทรศัพท์ในการเติมเชื้อไฟ มากว่าจะอยู่กับตัวเองทบทวนปัญหา
5.ทำให้คุณโกหกมากยิ่งขึ้น  เช่น หากแฟนถามว่าอยู่ใหน คงไม่มีใครตอบตรงๆว่าอยู่กับกิ๊ก
6.ทำให้สมองของคุณ ฟ่อลง คุณจะพึงพาความจำของเครื่องโทรศัพท์แทน เช่น เบอร์โทรต่างๆ
7.ทำให้สังคมของคุณ แคบลง เพราะเมื่อคุณหลงทาง คุณคงโทรหาเพื่อน มากกว่าที่จะถาม คนข้างๆที่ไม่รู้จัก
8.ทำให้เป็นภาระทางใจ  เช่นกลัวว่าจะหาย  กลัวจะลืมไว้บ้าน  กลัวพัง กลัวหล่น กลัวตกรุ่น กลัว.........
9.ทำให้เป็นภาระทางการเงิน ต้องหาเงินมาจ่ายค่าโทร
10.ทำให้คุณสูญเสีย อวัยวะได้ หากใช้แบตฯปลอม
อืม ยังมีอีกเยอะ  ให้ท่านอื่นได้ตอบบ้าง


การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย

การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย

โทรศัพท์มือถือได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคแห่งเทคโนโลยี โดยโทรศัพท์มือถือในยุคนี้มาพร้อมความสามารถในการทำงานมากมาย ทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การติดตั้งแอพพลิเคชั่นต่างๆลงไปบนเครื่อง ถือได้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญต่างๆลงบนเครื่องได้ อย่างไรก็ตาม โทรศัพท์มือถือเหล่านี้มักจะถูกโจรกรรมหรือถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์ได้ง่าย ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรระมัดระวังหรือหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น เช่น เลือกซื้อโทรศัพท์ที่มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ดี ตั้งค่าการใช้งานบนโทรศัพท์เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และไม่ควรคลิกลิงค์ที่น่าสงสัย เป็นต้น
การใช้โทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย
ในอดีตโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีไว้สำหรับใช้โทรศัพท์ไปยังบุคคลอื่นๆเพื่อสนทนาและส่งข้อความตัวอักษรถึงกันเท่านั้น แต่ในปัจจุบันโทรศัพท์ถือในยุคใหม่นี้มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ถือได้ว่าโทรศัพท์มือถือเหล่านี้เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม โทรศัพท์มือถือเหล่านี้มักจะสูญหายหรือถูกโจรกรรมได้ง่าย ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรให้ความสำคัญในการใช้โทรศัพท์อย่างปลอดภัย

โทรศัพท์มือถือกับความปลอดภัย

1. การสนทนา
ถึงแม้ว่าการสนทนาหรือการติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายจีเอสเอ็ม (GSM) นั้นจะมีการเข้ารหัสเอาไว้ แต่การเข้ารหัสของเครือข่ายจีเอสเอ็มนี้กลับถูกพวกแฮกเกอร์ทำการแฮกได้สำเร็จมาแล้ว ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรที่จะต้องระมัดระวังและหาทางป้องกันโทรศัพท์มือถือและข้อมูลส่วนตัวด้วยตนเองเพื่อความมั่นใจว่าข้อมูลสำคัญๆที่เก็บเอาไว้นั้นจะไม่รั่วไหล



2. เอสเอ็มเอส (SMS)
ข้อความที่ถูกส่งไปมาอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นข้อความที่ไม่ได้มีการเข้ารหัสเอาไว้หรือที่เราเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่าเพลนเท็กซ์ (Plain Text) ดังนั้นข้อความเหล่านี้จึงไม่มีความปลอดภัยและไม่สามารถที่จะป้องกันตนเองจากเหล่าแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีที่คอยแอบดักฟังข้อมูลได้

3. สมาร์ทโฟน
เป็นที่น่าเสียดายว่ารูปแบบหรือมาตรการในการรักษาความปลอดภัยส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาใช้ในคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือนำมาปรับใช้บนสมาร์ทโฟน อีกทั้งแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้ทำการดาวน์โหลดและใช้บริการบางส่วนนั้นก็ไม่ปลอดภัย ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น อินเทอร์เน็ตที่เปิดให้ใช้บริการบนสมาร์ทโฟนนั้นก็พบปัญหาเดียวกันกับที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายไร้สายหรือ WiFi ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรระมัดระวังและศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายไร้สายเพื่อนำมาปรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นบนสมาร์ทโฟน

วิธีการปกป้องโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย

4. ตั้งค่าการใช้งานบนโทรศัพท์เพื่อความปลอดภัย
สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีฟังก์ชั่นที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับโทรศัพท์มากมาย ยกตัวอย่างเช่น ต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้งเมื่อต้องการเข้าสู่เมนูหลักบนหน้าจอ หากสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งานมีฟังก์ชั่นนี้ ผู้ใช้งานควรเปิดการทำงานของฟังก์ชั่นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลบนเครื่องหากโทรศัพท์ถูกขโมยไป ที่สำคัญผู้ใช้งานควรตั้งรหัสที่ซับซ้อนและยากต่อการคาดเดาเพื่อให้มิจฉาชีพใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลนานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้งานควรเปิดการทำงานของฟังก์ชั่นรักษาความปลอดภัยอื่นๆที่มีอยู่บนโทรศัพท์มือถือด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเข้ารหัส การควบคุมหรือสั่งการโทรศัพท์จากระยะไกลและติดตั้งแอพพลิเคชั่นแอนติไวรัสเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากพวกแฮกเกอร์ด้วย

5. ไม่ควรคลิกลิงค์ที่น่าสงสัย

ผู้ใช้งานไม่ควรคลิกลิงค์ที่ถูกแนบมาพร้อมกับอีเมล์หรือข้อความบนโทรศัพท์ หากผู้ใช้งานรู้สึกว่าอีเมล์หรือข้อความนั้นๆมีความผิดปกติหรือน่าสงสัย อีกทั้งไม่ควรคลิกลิงค์ที่แนบมากับอีเมล์หรือข้อความที่ถูกส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก เพราะลิงค์เหล่านี้มักจะนำพาเราไปยังหน้าเว็บไซต์ฟิชชิ่งหรือเว็บไซต์หลอกลวงที่พยายามจะหลอกลวงให้ บอกข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสบัตรเครดิต หรือไม่ก็เป็นลิงค์ที่เมื่อเราคลิกเข้าไปแล้วจะทำการดาวน์โหลดโปรแกรมอันตรายลงในเครื่องของเรา ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรระมัดระวังในการคลิกลิงค์เหล่านี้

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีจาก 1G สู่ 4G LTE

เทคโนโลยีทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อตอบสนองกับความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เทคโนโลยีการสื่อสารก็เช่นกันที่นับวันการย่อโลกทั้งโลกมาอยู่ในฝ่ามือของเราได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม กว่าที่จะมาถึงเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายล่าสุดอย่าง 4G LTE ลองมาดูกันว่าจากวันนั้นจนถึงวันนี้เราใช้อะไรกันมาแล้วบ้าง


                         ยุค 1G โทรได้อย่างเดียว
หลายคนคงจำโทรศัพท์มือถือที่ต้องถือ(แบก)คล้ายกระเป๋าหรือกระติกน้ำขนาดใหญ่ได้ หรือแม้แต่กระบองอันใหญ่ๆ นั่นคือยุคเริ่มต้นการใช้โทรศัพท์ไร้สาย โดยการรับส่งสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์นั้นจะอยู่ในรูปแบบ Analog ที่สามารถส่งสัญญาณในรูปแบบเสียงได้อย่างเดียว  นอกจากนั้นการรับส่งสัญญาณจะต้องส่งไปยังสถานีฐาน (Based-station) ซึ่งในยุคนั้นมีจำนวนน้อยและสัญญาณต้องแรงพอที่จะส่งไปยังเครื่องปลายทางได้ จึงเป็นสาเหตุให้รูปร่างของโทรศัพท์ในยุคนั้นมีขนาดใหญ่และหนาคล้ายวิทยุของทหารนั่นเอง

                         ยุค 2G, 2.5G และ 2.75G เข้าสู่ยุคดิจิตอล
สามยุคนี้เป็นช่วงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานพอสมควรและคนที่ใช้โทรศัพท์ในไทยมักจะคุ้นเคยที่สุด เพราะเป็นยุคที่มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารโดยใช้สัญญาณแบบดิจิตอลแทน ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลหรือ Data ได้เพิ่มขึ้น  โดยถ้าจะให้ไล่เรียงกันทั้งสามยุคนั่นก็คือ
2G คือการใช้ระบบ GSM สามารถโทรหากันข้ามเครือข่ายได้จากที่ไม่สามารถทำได้ในยุค 1G และเป็นยุคที่สามารถส่งข้อความ SMS หรือ Short Message Service ได้
2.5G เป็นการต่อยอดในการส่งข้อมูลให้ดีขึ้นด้วยบริการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service)
สุดท้ายยุค 2.75G เป็นการพัฒนาการส่งสัญญาณให้ดีขึ้น, เร็วขึ้นและได้ปริมาณที่มากขึ้นซึ่งนั่นก็คือ EDGE (Enhanced Data rates for GSM Evolution)
โดยทั้งสามยุคนี้ คนหันมาใช้บริการข้อมูลกันเพิ่มมากขึ้นและเป็นยุคที่มีอุปกรณ์ออกมารองรับการใช้งานข้อมูลเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน


         ยุค 3G ยุคแห่งการบริโภคข้อมูล

จะบอกว่าตอนนี้คนไทยอยู่ในยุคนี้ก็คงจะใช่หล่ะนะครับ เพราะส่วนใหญ่แล้วตอนนี้เราใช้โทรศัพท์ที่ส่วนใหญ่เป็นสมาร์ทโฟนเกือบทั้งหมด หันมาใช้บริการข้อมูลมากการใช้บริการเสียงจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เสียอีก ซึ่งยุคแห่งการใช้ข้อมูลนี้ความเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเลยเกิดยุคของโทรศัพท์ยุคที่ 3 หรือ 3G ขึ้นมานั่นเอง โดยจะใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า UTMS (Universal Mobile Telecommunications System) เป็นแกนหลัก
อันที่จริงแล้วยุค 3G ก็ไม่ต่างกับ 2G ที่มีอยู่ 3 ช่วงเหมือนกันนั่นคือ ในยุคแรกความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 2 Mbps และต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนาความเร็วจนปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคที่เป็น 3.5G และ 3.75G (ขึ้นอยู่กับพื้นที่) มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 21-42 Mbps โดยความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์รับสัญญาณและความหนาแน่นในการใช้งานของพื้นที่นั้นๆ ด้วย และสามารถสังเกตง่ายๆ ว่าตอนนี้เราใช้ระบบ 3G แบบใดบนโทรศัพท์ โดยดูที่สัญลักษณ์สัญญาณข้อมูลว่าเป็น 3G, H หรือ H+

        ยุค 4G LTE ยุคแห่งการบริโภคข้อมูลด้วยความเร็วแบบสุดๆ

อย่างที่บอกไปในตอนแรกแล้วว่าชื่อ 4G นั้นถูกเรียกให้เก๋ๆ โดยอันที่จริงแล้วนั้นมันคือยุคของ 3.9G โดยยุคนี้จะเป็นอีกขั้นของการใช้งานข้อมูลโดยจะให้ความสำคัญกับความเร็วเป็นสำคัญ ซึ่งความเร็วที่ 4G LTE จะสามารถทำได้สูงสุดนั้น มีการรับข้อมูลได้ถึง่ 100Mbps และส่งข้อมูลอยู่ที่ 50Mbps โดยมีการเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 3G ว่ามี 4G LTE นั้นความเร็วมากกว่าถึง 7 เท่า
                      LTE นี้มันคืออะไร
LTE  เป็นหนึ่งมาตรฐานจากกลุ่ม Third Generation Partner Ship Project (3GPP) ที่มุ่งเป้าในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง บนระบบ Mobile ไปสู่ระบบ Mobile ยุคต่อไปที่อาจจะเรียกว่าเป็นยุค 4 (4G ) ซึ่งสถาปัตยกรรมแนวคิดการพัฒนานั้น LTE น่าจะเป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี 3G  ทางเทคนิคนั้น LTE ถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานของ GSM, GPRS,EDGE และ WCDMA รวมถึง HSPA อีกด้วย ปัจจัยหลักของ  LTE คือการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล การดาวน์โหลดและ อัพโหลด (Download/Upload) และลดค่า Latency หรือ ค่าความหน่วงเวลา ตัวนี้จะเป็นความเร็ว จริงๆที่ใช้รับส่งข้อมูล ทำให้ไม่เกิดความล่าช้า หรือ หน่วงเวลามากนักเข้า Concept ของการบริการ แบบ Delay Sensitive Servicesทำให้ผู้ใช้บริการจะได้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
LTE จะสร้างปรากฏการณ์ Real-Time, VoIP, VDO Conference คุณภาพสูงผ่านช่องความถี่ 20 MHz ประกอบกับการดาว์นโหลดที่มีความเร็วสูงถึง 100 Mbps(สูงสุดที่ 300Mbps) และอัพโหลดที่ได้มากถึง 50Mbps(สูงสุดที่ 75Mbps) และปิงต่ำกว่า 10 มิลลิวินาที โดยมีแบนด์วิทธ์อยู่ในช่วงระหว่างช่วง 1.4 เมกกะเฮิร์ตถึง 20 เมกกระเฮิร์ต  ที่สำคัญ LTE ใช้เครื่อข่ายรูปแบบ all-IP Core 
            
           ประโยชน์ของการใช้ 4G
ด้วยความเร็วของ 4G Network ที่มีประสิทธิภาพด้านความเร็วสูง (>100 Mbps) การให้บริการ 4G ผ่าน Wi-Fi Adapter จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adapter เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกัน กับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ Wi-Fiได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้นและวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย
                    สรุปการทำงานระบบ LTE  สู่ 4G
1.พื้นฐานแนวคิดการพัฒนานั้น LTE เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี 3G ไปสู่เทคโนโลยี 4G เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานให้ดีขึ้น
2.ในการทำงานระบบ 4G สามารถผ่านประชุมทางไกลคุยแบบโต้ตอบได้ทันที ไม่เหมือน 3G ที่จะมีอาการดีเลย์ แถม 4Gยังได้ภาพคมชัดแบบ HD กว่า 3G ด้วย ( 3G เปรียบดั่งเคเบิ้ลทีวีดาวเทียม ที่ภาพออนแอร์มาจะช้ากว่า 4G ที่คุยกับคนอื่นได้อย่างตาเห็น ถามไปตอบกลับได้ทันทีไม่ต้องรอ แม้จะอยู่ต่างประเทศห่างไกลมากๆก็ตาม )
3. ข้อดีด้วยความเร็วของ 4G ที่เร็วแรงกว่า 3G นี้ การให้บริการ 4G ผ่าน Wifi Adaptor จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adaptor เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกันกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ Wifi ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้น และวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย
4. ความสามารถของระบบ 4G ยังสามารถส่งไฟล์วีดีโอความละเอียดสูง และการถ่ายทอดสดแบบ Live Broadcast แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที บริการ cloud service สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning, การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) และ รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเหมาะสำหรับการทำธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
ปัจจุบัน ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มีการจับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หวังสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดย ชูคุณสมบัติเด่น รับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขี้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก

ผู้ประดิษฐ์มือถือเครื่องแรกของโลก

โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี ค.ศ.1973 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ

1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก

ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1973 เขาเป็นวิศวกรอยู่ที่บริษัทโมโตโรล่า และห้องแล็ปของเขาก็สร้างนวัตกรรมให้กับมวลมนุษยชาติ นั่นคือ การเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เป็นรายแรกของโลกเพราะในใจของเขารู้ดีว่าคนเราต้องการการสื่อสาร และการสื่อสารไม่เคยหยุดอยู่กับที ฉะนั้นคนไปที่ไหน ก็ต้องสื่อสารได้ตลอด และการสื่อสารนั้นยังต้องการความเป็นส่วนตัวด้วยและสิ่งที่น่าคิดคือ ในวันก่อนที่เขาจะโชว์มือถือหนักกว่า 3 กิโลกกรัมต่อสายตาชาวโลกนั้น คนทั่วโลกยังรู้จักแต่ชื่อ โทรศัพท์ติดรถยนต์ (Carphone)” ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเครื่องโทรศัพท์ได้ถูกพัฒนาให้ไปติดที่รถ ใช้กับแพทย์ หรือ บริการส่งสินค้าตามบ้าน
           เขายืนทดลองโทรศัพท์จากมือถือเครื่องแรกที่ถนนสายที่ 6 หน้าโรงแรมฮิลตัน ใจกลางเมืองนิวยอร์ก และคนแรกที่เขาโทรหาก็คือ โจ แองเกิลวิศวกรคู่แข่งที่บริษัท AT&T โดยเขาพูดสั้นๆ ว่าโทรมาจากมือถือ โทรศัพท์ที่ใช้มือถือจริงๆ ต่อจากนั้นก็ไม่ได้ยินเสียงตอบรับจากปลายสายเลย จากนั้นเขายังเดินยกมือถือคุยต่อไป โดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังข้ามถนนอยู่ ซึ่งเพื่อนของเขาก็ดึงตัวเอาไว้ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับเขาคนแรก แต่วันนี้ผู้คนทั่วโลกก็ได้รับประสบการณ์นี้อย่างเคยชินไปแล้ว
ต่อจากนั้นมา เขาก็ได้เปิดตัวมือถือต้นแบบต่อหน้าสื่อมวลชน เมื่อสื่อทดลองใช้ โดยโทรไปต่างประเทศ ก็ต้องตกตะลึงว่าทำไมสิ่งของเครื่องเล็กๆ ไร้สาย แต่สามารถโทรข้ามโลกใบใหญ่ๆ ของเราได้


โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเคาะขายที่ 1.3 แสนบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

ย้อนอดีต โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเคาะขายที่ 1.3 แสนบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
เอ็ด แซนเดอร์ (Ed Zander) ประธานและซีอีโอโมโตโรลา (Motorola Inc.) โชว์ตัว Motorola DynaTAC 8000 ที่ถูกเปิดตลาดอย่างเป็นทางการเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ระหว่างงาน 2007 International Consumer Electronics Show เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2007


       รู้หรือไม่ว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกของโลกถูกประเดิมจำหน่ายแก่สาธารณชนในวันที่ 13 มีนาคม 1984 ตามเวลาในสหรัฐฯ (ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม 2527 ในประเทศไทย) โดยวันนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ชาวอเมริกันรายหนึ่งควักกระเป๋าซื้อ Motorola DynaTAC 8000X ด้วยราคา 3,995 เหรียญสหรัฐ ซึ่งหากคำนวณค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบันจะพบว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกของโลกมีมูลค่ามากกว่า 1.3 แสนบาท
ย้อนอดีต โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเคาะขายที่ 1.3 แสนบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
Motorola DynaTAC 8000X วางจำหน่ายที่ 3,995 เหรียญสหรัฐในวันที่ 13 มีนาคมเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
น่าเสียดายที่ไม่พบข้อมูลว่าใครคือลูกค้ารายแรกที่ซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่น Motorola DynaTAC 8000X ไปใช้งานในครั้งนั้น โดยข้อมูลเบื้องต้นระบุว่าเป็นการซื้อเครื่องในเขตชิคาโก บัลติมอร์ หรือวอชิงตัน
ย้อนอดีต โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเคาะขายที่ 1.3 แสนบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
รูปแบบงานโฆษณาของ Motorola DynaTAC 8000X

การมือโทรศัพท์มือถือไว้ครอบครองในยุคนั้นถูกมองว่าเป็นเพียงเครื่องเสริมภาพลักษณ์สุดเจ๋ง ของเล่นคนรวยชิ้นนี้สามารถทำให้เจ้าของเรียกความสนใจจากคนรอบข้างได้ดี โดย Motorola DynaTAC 8000X มีขนาด 13 x 1.75 x 3.5 นิ้ว น้ำหนักเครื่อง 28 ออนซ์ ซึ่งความใหญ่โตและน้ำหนักระดับนี้ทำให้ผู้พัฒนา 8000X แอบตั้งชื่อเรียกโทรศัพท์มือถือรุ่นนี้ว่า "The Brick" หรือก้อนอิฐชิ้นโต
ย้อนอดีต โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเคาะขายที่ 1.3 แสนบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
ของเล่นคนรวยในยุค 80

แน่นอนว่า Motorola DynaTAC 8000X ไม่ได้มาพร้อมเวลาใช้งานมาราธอนเหมือนสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน โดยผู้ใช้สามารถคุยโทรศัพท์ได้ราวครึ่งชั่วโมงเท่านั้นต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง
      
       ในมุมของราคา การที่ Motorola DynaTAC 8000X วางจำหน่ายที่ 3,995 เหรียญสหรัฐนั้นถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในยุคนั้น โดยมูลค่านี้คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวสหรัฐฯ ในปี 2014 ที่มีมูลค่า 9,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.9 แสนบาท

ประวัติความเป็นมาของโทรศัพท์มือถือ

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือสามารถสืบย้อนกลับเป็นช่วงต้นของปี 1940 ในขั้นแรกวิทยุแบบสองทางหรือแท่นขุดเจาะมือถือได้ใส่ลงในยานพาหนะเช่นแท็กซี่, cruisers ตำรวจและรถพยาบาลแล้ว แต่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือจริงเพราะพวกเขาไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้ของฟอร์มต้นนี้ของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือไม่สามารถโทรออกหมายเลขโทรศัพท์จากรถของพวกเขา ในตอนแรกวิทยุแบบสองทางโทรศัพท์มือถือมีการติดตั้งอย่างถาวรในรถ แต่รุ่นดำเนินการต่อไปเช่น transportables หรือ"โทรศัพท์มือถือถุง"ถูกสร้างขึ้นด้วยปลั๊กบุหรี่เบาเพื่อให้พวกเขายังสามารถดำเนินการและดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เป็นทั้งโทรศัพท์มือถือหรือเป็นวิทยุแบบสองทางแบบพกพา ในตอนต้นของปี 1940 โมโตโรล่าพัฒนาวิทยุแบบสองทาง backpacked, เครื่องส่งรับวิทยุและต่อมาจัดตั้งวิทยุขนาดใหญ่สองทางมือถือสำหรับทหาร United States แบตเตอรี่"Handie – รับวิทยุ"หรือ HT ประมาณขนาดของปลายแขนมนุษย์เร็ว ๆ นี้จะคิดค้นเทคโนโลยีจากอนาล็อกต้นแบบโมโตโรล่า DynaTAC ใช้ครั้งแรกในปี 1973 ถึงสามรุ่นที่แตกต่างของแต่ละโทรศัพท์มือถือที่จะปรับปรุงวิธีการเทคโนโลยี รุ่นที่จัดประเภทเป็น 1G, 2G และ 3G
1G หรือ 1 – G เฉพาะอธิบายรุ่นแรกของเทคโนโลยีโทรศัพท์ไร้สาย, การสื่อสารโทรคมนาคมมือถือ เหล่านี้เป็นมาตรฐานการสื่อสารแบบอะนาล็อกที่ถูกวางในตำแหน่งในช่วงปี 1980 และต่อเนื่องจนกว่าพวกเขาจะถูกแทนที่ด้วย 2Gโทรคมนาคมดิจิตอล ความแตกต่างระหว่างสองหัวหน้าระบบโทรศัพท์มือถือ 1G และ 2G, คือว่าสัญญาณวิทยุที่มีเครือข่ายที่ใช้อะนาล็อก 1G, 2G ในขณะที่เครือข่ายที่ใช้สัญญาณวิทยุดิจิตอล
ในปี 1990, รุ่นที่สองหรือ 2G ระบบโทรศัพท์มือถือรวมทั้ง GSM, iDEN IS – 136 ("TDMA") และ IS – 95 หรือ"CDMA"มีการแนะนำ ในปี 1991 เครือข่าย GSM แรก Radiolinja ก่อตั้งขึ้นในฟินแลนด์ 2G ระบบโทรศัพท์มีลักษณะเปลี่ยนจากวงจรดิจิตอลการส่งและการใช้ประโยชน์ของโทรศัพท์ที่ทันสมัยและรวดเร็วในการส่งสัญญาณเครือข่าย สำหรับส่วนใหญ่, ความถี่ที่ใช้โดยระบบ 2G ในยุโรปมีค่าสูงกว่าผู้ที่อยู่ในอเมริกา ตัวอย่างเช่น 900 MHz ช่วงความถี่ที่ใช้ในการทั้งระบบ 1G และ 2G ในยุโรปเพื่อให้ระบบ 1G ถูกปิดลงทันทีเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับ 2G ระบบ ในอเมริกา IS – 54 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในวงเดียวกับ AMPS และแทนที่บางส่วนของช่องทางอะนาล็อกที่มีอยู่ การจัดสรรเทคโนโลยี 2G เริ่มเห็นเล็ก, โทรศัพท์มือถือกะทัดรัดมากขึ้น การปรับเปลี่ยนนี้ถูกเปิดการใช้งานเนื่องจากการปรับปรุงเทคโนโลยีขั้นสูงรวมทั้งแบตเตอรี่มากขึ้นและอื่น ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน

ส่งข้อความ SMS กลายเป็นความจริงกับเครือข่าย 2G, แรกในเครือข่าย GSM แล้วบนเครือข่ายดิจิตอลทั้งหมด ในปี 1991, ข้อความแรกที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องส่งในสหราชอาณาจักร ในปี 1993 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นจริงคนไปคนข้อความ SMS ถูกส่งในประเทศฟินแลนด์SMS จะเร็ว ๆ นี้หลังจากการแนะนำของมันเป็นวิธีที่ต้องการของการสื่อสารเพื่อเยาวชน ในความเป็นจริงในตลาดส่วนใหญ่เป็นข้อความที่ต้องการจะออกจากข้อความเสียง รุ่นที่สองยังเปิดการใช้งานผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาของสื่อบนโทรศัพท์มือถือเมื่อ Radiolinja ตอนนี้ Elisa, ในฟินแลนด์นำแหวนโทนดาวน์โหลดได้ว่าเป็นเนื้อหาจ่าย
จากความสำเร็จของการพัฒนาเครือข่าย 2G ของรุ่นที่สามหรือเทคโนโลยี 3G ได้ intializedการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใหม่กว่านี้ปูทางสำหรับจำนวนมากมายของมาตรฐานที่แตกต่างกันกับ contenders ที่แตกต่างกันส่งเสริมเทคโนโลยีของตัวเอง แตกต่างจากระบบ 2G, 3G ความหมายของการได้รับมาตรฐานใน IMT – 2000 มาตรฐานการประมวลผล กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องสร้างมาตรฐานด้านเทคโนโลยี แต่แทนในชุดของความต้องการ (2 Mbit / s ข้อมูลในบ้านสูงสุดอัตรา, 384 kbit / s กลางแจ้งเช่น) ตั้งแต่นั้นมา, เหมาะต้นฉบับที่เดียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วโลกมาตรฐานถูกรื้อและมาตรฐานที่แตกต่างกันได้ตั้งแต่นั้นได้รับการแนะนำ
เครือข่ายทดลองครั้งแรกก่อนในเชิงพาณิชย์โดยใช้เทคโนโลยี 3G เปิดตัวโดยเอ็นทีทีโดโคโมในญี่ปุ่นในภูมิภาคโตเกียวพฤษภาคม 2001 โดยปลาย 2007 มีสมาชิก 295 ล้าน 3G เครือข่ายทั่วโลกซึ่งแสดง 9% ของจำนวนของผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ